วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


                  นาฏศิลป์ไทย   เป็นศิลปวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองของไทยเรา ความงดงามของท่าร่ายรำตา
มจังหวะ และทำนองเพลง ตลอดจนการแสดงสื่อความหมายด้วยบทเจรจา ท่าทาง และคำร้องเป็นลำนำ ช่วยให้ผู้ชมได้ชื่นบาน
สนุกสนานได้อิ่มเอมกับสุนทรียรส   และเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการแสดงนาฏศิลป์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ     
    เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ถ่ายทอดไว้ให้ สมควรที่เยาวชนทั้งหลาย ควรสนใจรับสืบทอด และรักษาไว้เป็นศรีสง่า
ของชาติไทยสืบไป
             ท่วงทีของการร่ายรำนั้น เกิดขึ้นจากอิริยาบทต่าง ๆ ของคน ในชีวิตประจำวันนั่นเอง  แม้ว่ามือและแขนจะเป็นส่วนสำคัญของ
การรำ    แต่อวัยวะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นศีรษะ   หน้า  คอ  ลำตัว  เอว  ขา และเท้าก็ต้องเคลื่อนไหว    รับสัมพันธ์กันทุกส่วนจึงจะแลดูงาม
และสื่อความหมายได้ดี     การแสดงท่ากวัก  โบกสะบัด  จีบคว่ำ จีบหงาย ร้องไห้ อิ่มเอม โกรธ ขับไล่ ฯลฯ ล้วนแต่มีท่ารำที่สวยงาม 
และดูได้เข้าใจชัดเจนทั้งสิ้น
           เนื่องจากการร่ายรำ เป็นศิลปะขั้นสูง ผู้ที่จะรำเป็นจึงต้องได้รับการฝึกหัด และฝึกฝนอย่างจริงจัง จึงจะดูนิ่มนวล   กลมกลืนและ
งามสง่า    ครูนาฏศิลป์โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำไว้มากเป็นท่าหลักที่ต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ ท่าหลักสำหรับฝึกหัดรำนี้มักเรียกกันว่า 
“ แม่บท” เป็นท่ารำที่เลียนแบบอิริยาบททั้งของเทพบุตร เทพธิดา คน สัตว์ และธรรมชาติแวดล้อม เช่น เทพนม สอดสร้อยมาลา
กวางเดินดง เมขลาล่อแก้ว ยอดตองต้องลมเป็นต้นท่ารำบางท่าเป็นการแสดงความรู้สึกและอารมณ์ เช่น ท่าเสือทำลายห้าง 
ช้างทำลายโรง หนุมานผลาญยักษ์ พระลักษณ์แผลงฤทธิ์ เป็นต้น
ภาษาท่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคำพูดส่วนมากใช้ในการแสดงนาฏศิลป์และการแสดงละครต่าง ๆ เพราะต้องใช้การเคลื่อนไหวแทนคำพูดและความหมายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามในการแสดง



            
            ภาษาท่าน่ารู้

        ภาษาท่าสามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ดังนี้

๑.      ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด  เช่น  ปฏิเสธ  เรียก  ไป  มา  ฯลฯ

๒.      ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ  เช่น  ยืน  เดิน  นั่ง  นอน  ฯลฯ

๓.      ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน  เช่น  รัก  โกรธ  ดีใจ  เสียใจ  ฯลฯ   


     ภาษาท่าที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ เป็นการสื่อความหมายแทนคำพูดอย่างหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้การแสดงนาฏศิลป์มีความสวยงามยิ่งขึ้น  เพลงปลุกใจเป็นเพลงประเภทหนึ่งที่ใช้ภาษาท่าหรือท่ารำประกอบ เพื่อที่จะสื่อความหมายของเนื้อเพลงให้ชัดเจนขึ้น  และมีความสวยงามในการแสดงเพลงปลุกใจ




  
      นาฏยศัพท์น่ารู้

        นาฏยศัพท์   หมายถึง  ศัพท์ที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย  เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ปฏิบัติ  หรือกิริยาอาการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์  เพื่อใช้สื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตรงกัน

        ท่ารำเบื้องต้นหรือนาฏยศัพท์  เป็นลักษณะการรำที่ต้องมีการฝึกฝนเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาไปสู่ท่ารำแบบอื่นต่อไป  ท่ารำเบื้องต้นที่ควรฝึกฝน  ได้แก่

        ๑.  การตั้งวง  เป็นการตั้งลำแขนเป็นวงคล้ายครึ่งวงกลม  แขนงอพอสมควร  มือตั้งขึ้น  นิ้วทั้ง  ๔  นิ้ว  เรียงชิดติดกัน  หัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย  ฝ่ามือหันออกนอกตัว  หักข้อมือให้หลังมือเข้าหาลำตัว
         
 ๒.  การยกเท้า      การยกเท้าจะยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อนก็ได้  โดยอาจใช้วิธีประเท้าหรือก้าวเท้าด้วยเท้าใดเท้าหนึ่งแล้วจึงยกเท้า 
 หรือยกเท้าโดยไม่ประเท้าก่อนก็ได้  ซึ่งการยกเท้ามี  ๒  ลักษณะ  คือ  การยกหน้าและการยกข้าง

 ๑)  การยกหน้า  ให้วางเท้าขวาเหลื่อมไปข้างหน้าของเท้า  ห่างกันประมาณ  ๑  คืบ  คือ  น้ำหนักตัวลงที่เท้าซ้าย  เบนปลายเท้าขวา
ให้ชี้ไปทางขวามือพอสมควร  และเท้าซ้ายเบนไปทางซ้ายมือพอสมควร  ย่อเข่าลง  ประเท้าขาวแล้วยกขึ้น  ซึ่งตัวพระและตัวนาง

มีการยกเท้าที่ต่างกัน  ดังนี้


ตัวพระให้กันเท้าแบะออกไป  ปลายเท้าขวาชี้ไปทางขวาโดยไม่ให้ส้นเท้าขวาตรงกับสันหน้าแข้งของเท้าซ้ายไม่บิดตาตุ่มหรือส้นเท้าออกให้
มากนัก



 ตัวนางให้ยกเท้าโดยปลายเท้าชี้ไปข้างหน้าเฉียงไปทางขวาเล็กน้อย ส้นเท้าขวาให้ยกต่ำกว่าการยกเท้าของตัวพระเท้าที่ยืนต้องย่อเข่า



   การยกข้าง ส่วนมากจะใช้กับตัวพระ  สมมุติว่าจะยกเท้าข้างลำตัวด้วยเท้าขวาเท้าทั้งสองเบนออกไป  ย่อตัวลง  แล้วประเท้าขวาและยกเท้าขึ้นข้างลำตัว   ให้ขาท่อนบนทำฉากกับลำตัว  เข่าแบะออก   เท้าขวาชี้เฉียงออกไปข้าง ๆ   ตัวให้ส่วนตาตุ่มและส้นเท้ายื่นมาข้างหน้าพอประมาณ  ปลายนิ้วเท้าตึงและงอนขึ้นทั้งห้านิ้ว   ย่อตัวและทรงตัวให้สวยงาม   ส่วนตัวนาง   ถ้าจำเป็นต้องยกเท้าไปข้างลำตัว   ให้เก็บส้นเท้าที่แตะไว้ใต้เข่าด้านข้างของขาที่ยืน  ปลายเท้ายกงอนขึ้นกันเข่าแบะออกพอประมาณ

แหล่งข้อมูล                                                                                                       


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น